เมนู

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
อย่างไร ? อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด
นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? ผู้แสดงและผู้รับ
แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล
ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รื้อฟื้น เป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

กิจจาธิกรณระงับด้วยสมถะอย่างเดียว


[694] กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ? กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย.
สมถขันธกะ ที่ 4 จบ

สมถักขันธกวรรณนา


สัมมุขาวินัย


วินิจฉัยในสมถักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางบทมาติกา 6 มีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล
เป็นต้น ตรัสความพิสดารโดยนัยมีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล ธมฺมวาทึ ปุคฺคลํ สญฺญาเปติ
เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญาเปติ ได้แก่ กล่าวถ้อยคำ
ที่สมกับเหตุ ขู่ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺเฌเปติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะจ้องดู คือเล็งแล
เนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำด้วยประการนั้น.
สองบทว่า เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะ
เพ่งเล็งและเพ่งเล็งบ่อย ๆ ซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำ
ด้วยประการนั้น .
สองบทว่า ทสฺเสติ อนุทสฺเสติ เป็นคำบรรยาแห่งสองบทว่า
เปกฺเขติ อนุปกฺเขติ นั้นแล.
สองบทว่า อธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่
อธรรมวาทีบุคคลนั้น ยังธรรมวาทีบุคคลนั้นให้หลงแล้ว แสดงอธรรม
นั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นธรรม, อธิกรณ์จึงชื่อว่าระงับโดย
อธรรม.